“…สาเหตุตายกะทันหันถูกปฏิเสธมาตลอด
ว่าไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีน ปรากฏการณ์ตายกะทันหันเกิดขึ้นได้ทุกอายุ ทุกเพศ หลังฉีด และจากการพิสูจน์ศพพบมีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเป็นหย่อมๆ และอาจทำให้เชื่อมโยงกับการที่มีการขัดขวางไฟฟ้าของหัวใจ ทำให้หัวใจหยุดเต้น”
“หมอดื้อ” หรือ ศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดมุมมองนี้ไว้ในเรื่อง หัวใจอักเสบคุกรุ่น “แม้ไม่มีอาการ” หลังฉีด
นอกจากนั้นยังมีการศึกษาที่พบว่า “หัวใจ” ยังคงแสดงลักษณะ อักเสบมีแผลเป็นอยู่หลังจากฉีดวัคซีน mRNA นานกว่า 12 เดือน ด้วยซ้ำ ทั้งที่ตั้งแต่แรกฉีดจะมีอาการหรือไม่มีอาการ หรือบางรายมีผลแต่เลือดผิดปกติอยู่บ้างจากรายงานของออสเตรเลียและแคนาดา
ประเด็นนี้เป็นเรื่องสำคัญเพราะเวลาที่เราประเมินจะดูแต่เฉพาะที่มีอาการชัดเจนเท่านั้น และเมื่อดูอาการหายเป็นปกติแล้วก็จะสบายใจ เพียงแต่แนะนำให้ไม่ออกกำลังรุนแรง แต่เมื่อวัคซีนฝังตัวเข้าไปในกล้ามเนื้อหัวใจแล้วจะบังคับให้มีการสร้างโปรตีนหนามขึ้นมาสะสมอย่างต่อเนื่อง
และ…เกิดการอักเสบของหัวใจเป็นหย่อมๆ และ…ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติและตายกะทันหัน
โดยที่รายงานก่อนหน้านี้จากคณะแพทย์ทางพยาธิวิทยา (pathology) ของเยอรมนี จากการตรวจสอบของคนที่ตายกะทันหัน รายงานที่สำคัญมากในวารสาร Radiology (19 ก.ย.2566)
…จากคณะทำงานของโรงเรียนแพทย์ มหาวิทยาลัยของญี่ปุ่น Keio University School of Medicine และ Fukushima Medical University และ Icahn School of Medicine at Mount Sinai, New York และ University of Oxford Radcliffe Hospital, Oxford และ McGovern Medical School, Houston
…เป็นการตรวจร่างกายทั้งหมดด้วยเหตุผลอื่นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติทางหัวใจ ทั้งนี้ การตรวจดังกล่าวรวมหัวใจและ ต่อมน้ำเหลืองไปด้วย โดยใช้ PET scan ทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (18F-FDG PET/CT)ในช่วงเวลาก่อนที่จะมีวัคซีนระหว่างเดือน พ.ย.2563 ถึงเดือน ก.พ.2564 และหลังจากที่มีการใช้วัคซีนแล้ว
ทั้งนี้ จำแนกเพศอายุทั้งน้อยกว่า 40 ปี ระหว่าง 40-60 และ ที่สูงกว่า 60 ปี จำนวนคนที่ได้รับวัคซีนมีทั้งหมด 303 ราย อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 52.9 ปี ± 14.9 เป็นสตรี 157 บุรุษ 146 ราย และ 700 ราย ได้รับวัคซีนโดยมีอายุเฉลี่ย 56.8 ปี ± 13.7 สตรี 344 ราย
กลุ่มที่ได้รับวัคซีนทั้งหมด ทั้งสองเพศ และทุกอายุ พบว่ามีลักษณะการแสดงถึงความผิดปกติชัดเจน มีการสะสมของสารติดตามสูงขึ้นอย่างมีค่าสำคัญทางนัยสถิติของกล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้วัคซีน
ทั้งนี้ เป็นตลอดในระยะเวลาการติดตามในช่วง 1-30, 31-60, 61-120 และ 121-180 วัน หลังจากที่ได้รับวัคซีนเข็มสอง และยังพบว่ามีความผิดปกติของต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ข้างที่ฉีดวัคซีน ในทุกช่วงระยะเวลาที่ติดตามในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนสองเข็ม
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ อายุรศาสตร์และระบบสมอง ย้ำว่า ผลของการศึกษานี้เป็นเครื่องยืนยันชัดเจนว่ามี “ความผิดปกติ” ของ “หัวใจ” หลังจากที่ได้รับ “วัคซีนโควิด” และทั้งหมดที่มีความผิดปกตินี้ไม่มีอาการทางหัวใจใดๆทั้งสิ้น และภาวะอักเสบของหัวใจดังกล่าวยังทอดยาวไปถึงหกเดือนของการติดตาม
ทั้งหมดนี้อาจมีความเป็นไปได้ที่อธิบายปรากฏการณ์ตายกะทันหันแม้ในคนที่สุขภาพดีแข็งแรงและอายุน้อย และไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า ทั้งนี้ การตายกะทันหันไม่สามารถอธิบายจากการที่มีเส้นเลือดหัวใจตันในรูปแบบที่เราพบกันอยู่ทั่วไปและเกิดจากหัวใจเต้นผิดปกติจนกระทั่งหยุดเต้น
คณะที่ทำการศึกษาที่มาจากสถาบันจากหลายประเทศได้ให้ความเห็นว่ามีความจำเป็นที่ต้องทำการปรับปรุงวัคซีนที่ใช้เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องมีการติดตามหลังจากที่มีการใช้วัคซีนที่เป็นเทคโนโลยีใหม่โดยไม่ได้มีการตรวจสอบอย่างรัดกุม เพราะเป็นการประกาศใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน
แต่…เมื่อเกิดความผิดปกติ มักจะได้รับการปฏิเสธว่า… “ไม่เกี่ยวข้องกัน” และนำไปสู่การใช้เทคโนโลยีนี้ในการประดิษฐ์ วัคซีนทุกชนิดต่อเชื้อโรคทั้งมนุษย์และในสัตว์ โดยที่อ้างว่าวัคซีน มีการใช้ทั้งโลกแล้ว ดังนั้นจึงสามารถปรับเปลี่ยนมาใช้กับวัคซีน อื่นได้ทันทีทันใด
บางคน…อาจไม่เข้าใจว่าทำไมต้องใส่ใจผลกระทบของ “วัคซีน” ที่เกิดขึ้น “หมอดื้อ” บอกว่า…เหล่านี้มีผลต่อเนื่องระยะยาวได้และอุบัติการโรคในระบบต่างๆที่เกิดขึ้น มีทยอย
รายงานออกมาจะสูงมากจนน่าตกใจ ไม่ว่าเกิดต่อหัวใจ เส้นเลือด สมอง การเกิดมะเร็งและภูมิคุ้มกันแปรปรวนบกพร่อง
และโดยเฉพาะหมอเองได้ผ่านการดูแลรักษาผู้ป่วยเหล่านี้เองเป็นจำนวนมาก
แม้ว่าจะมีผู้โต้แย้งว่าผู้ป่วยเหล่านี้มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น อายุน้อยแข็งแรงเป็นนักกีฬา และเงื่อนเวลาที่เกิดขึ้นเชื่อมโยงกับเวลาที่ฉีดวัคซีน น่าเสียใจที่หลายราย…ที่สุขภาพดีมาก่อน เมื่อได้รับวัคซีนเริ่มเจ็บป่วยแต่ไม่สามารถวินิจฉัยได้ จึงได้รับวัคซีนต่อเนื่องไปอีกหนึ่งถึงสองเข็มจนอาการหนักขึ้น
เช่น ในผู้ป่วยที่เป็นครูพยาบาล และในที่สุดถึงกับไปทำ PET scan ปรากฏมีการอักเสบของกล้ามเนื้อแขนขาและบางส่วนของลำตัวรวมทั้งที่ต่อมไธมัสเป็นต้น
สิ่งนี้นำมาสู่การต้องประเมินว่าเทคโนโลยีที่ใช้เหมาะสมหรือไม่ โดยที่ขณะนี้ไปใช้ในการผลิตวัคซีนเกือบทุกชนิดที่จะเกิดขึ้นทั้งในมนุษย์และในสัตว์…สมควรหรือไม่ที่ต้องมีการระงับไว้ก่อนและปรับปรุง?
“…เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมีการเยียวยาครอบครัวที่สูญเสีย การที่ตนเองยังไม่เจ็บป่วย ถือว่าขณะนี้ยังมีโชคดี หมอเองก็ไม่ได้อยากซ้ำซากปากเปียกปากแฉะกับเรื่องนี้ แต่คนป่วยที่กองอยู่เต็มและมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นเหตุผลที่สำคัญและยังคงทรมานอยู่กับอาการต่างๆ”.
คลิกอ่านคอลัมน์ “สกู๊ปหน้า 1” เพิ่มเติม
แหล่งข่าว: ไทยรัฐ