ศปถ. เปิดสถิติ “10 วันอันตราย” ช่วงปีใหม่ 2568 วันแรกเกิดอุบัติเหตุ 322 ครั้ง สูงสุดใน จ.นครศรีธรรมราช เสียชีวิต 52 ราย สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก “ขับรถเร็ว”

วันที่ 28 ธ.ค. 67 เวลา 10.30 น. ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พล.ต.อ. เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานแถลงผลการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการป้องกัน และลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2568 (ศปถ.) ประจำวันที่ 28 ธ.ค. 67 

ทั้งนี้ ศปถ. กำชับจังหวัดอำนวยความสะดวกในเส้นทางสายหลัก สายรอง รวมถึงเฝ้าระวังจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ กำชับจุดตรวจเพิ่มความเข้มข้นในการเรียกตรวจยานพาหนะ และความพร้อมของผู้ขับขี่ โดยเฉพาะรถโดยสารสาธารณะ ตรวจสอบประชาชนและนักท่องเที่ยวที่ยังตกค้างในสถานีขนส่งต่าง ๆ ให้สามารถเดินทางสู่จุดหมายอย่างปลอดภัย 

พร้อมกับคุมเข้มพฤติกรรมเสี่ยงดื่มแล้วขับ ขับรถเร็ว และไม่สวมหมวกนิรภัย ตลอดจนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดตั้งจุดตรวจและ จุดบริการในบริเวณที่ปลอดภัย ไม่กีดขวางช่องทางจราจร เพื่อให้การเดินทางมีความคล่องตัวและอำนวยความสะดวก ด้านการจราจรให้เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้รถใช้ถนน อีกทั้งปรับมาตรการและแนวทางการดำเนินงาน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และบริบทของพื้นที่ เพื่อให้การเดินทางช่วงเทศกาลปีใหม่ห่างไกลอุบัติเหตุทางถนน

สำหรับข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 ประจำวันที่ 27 ธ.ค. 67 ซึ่งเป็นวันแรกของการรณรงค์ “ขับขี่ปลอดภัย เมืองไทยไร้อุบัติเหตุ”  ศปถ. โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย และความร่วมมือของหน่วยงานภาคีเครือข่ายได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนน พบเกิดอุบัติเหตุ 322 ครั้ง ผู้บาดเจ็บ 318 คน ผู้เสียชีวิต 52 ราย

สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ขับรถเร็ว ร้อยละ 39.44 ตัดหน้ากระชั้นชิด ร้อยละ 20.50 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 85.16 ส่วนใหญ่เกิดบนเส้นทางตรง ร้อยละ 9.01 ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุดอยู่ในช่วงอายุ 50 – 59 ปี ร้อยละ 15. 86.96 ถนนกรมทางหลวง ร้อยละ 47.83 ถนน ใน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 27.95 

ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เวลา 16.01 – 17.00 น. ร้อยละ 41 จัดตั้งจุดตรวจหลัก 1,753 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 51,001 คน โดยจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช (17 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพมหานครและนครศรีธรรมราช (จังหวัดละ 4 ราย) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช (17 ครั้ง)